ดาวน์โหลด


ชื่อผลงาน :พระบรมราโชวาทแนวทางในการดำเนินชีวิต
ผู้รายงาน: ฉันท์สินี บัวเพ็ชร, มุซิรา อินตาฝา, ไลลา หมาดสุวรรณ, วันดี ช่างเหล็ก
ครูที่ปรึกษา :คุณครูโสภิตา สังฆะโน
               :คุณครูเชษฐา เถาวัลย์
ปีการศึกษา :2555

บทคัดย่อ
       รายงานวิชาคอมพิวเตอร์และการศึกษาสร้างองค์ความรู้เรื่องพระบรมราโชวาทแนวทางในการดำเนินชีวิต  จากการที่สังคมในทุกวันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว   ทั้งในด้านบวกและด้านลบ ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม     การที่เยาวชนมีค่านิยมที่ผิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต จึงก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากมาย   ซึ่งรายงานเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการปฏิบัติและประโยชน์ที่ได้รับจากการนำพระบรมราโชวาทแนวทางในการดำเนินชีวิต  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ     พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดำเนินชีวิตเช่น ความสุขด้านกาย ความสุขด้านจิตใจ โดยมีการเผยแพร่ในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นและเว็บบล็อก ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการศึกษาค้นคว้าเนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจรวมทั้งเป็นการเสนอแนวทางในการดำเนินชีวิต จากการศึกษาพบว่า พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่งจะส่งผลให้ประชาราษฎร์มีความผาสุกในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง





คำนำ
       ปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งสถานการณ์บ้านเมืองของเรายังคงอยู่ในสภาวะที่มีความเห็นที่แตกต่าง  เกิดความแตกแยกกันประเทศ  ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชน  ข้าพเจ้าและคณะเล็งเห็นความสำคัญของสภาบันพระมหากษัตริย์   จึงได้ศึกษาพระบรมราโชวาท แล้วนำมาประยุกต์ในชีวิตเพื่อเป็นการดำรงชีวิต ตามรอยเบื้องยุคลบาท
       รายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเน้นการนำพระบรมราโชวาท  มาใช้ในการดำรงชีวิตและมีการสื่อรูปแบบของภาพยนตร์  เพื่อเป็นแรงจูงใจเสริมสร้างแบบอย่าง ในการดำเนินชีวิตของผู้ที่สนใจ ซึ่งจะเป็นการดำเนินชีวิตที่มีความสุขที่แท้จริง
       รายงานฉบับนี้  ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณคุณครูเชษฐา  เถาวัลย์  และคุณครูโสภิตา สังฆะโณ  ที่ให้ความช่วยเหลือและให้การสนับสนุนมาโดยตลอด   ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจ และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนได้ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                 ฉันท์สินี บัวเพ็ชร และคณะ







สารบัญ

เรื่อง                                                                                                    หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                 
คำนำ                                                                                                     
สารบัญ                                                                                                   
บทที่ ๑ บทนำ                                                                                            1
บทที่ ๒ เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                               6
บทที่ ๓ วิธีการดำเนินการ                                                                               21
บทที่ ๔ ผลการดำเนินการ                                                                               24
บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ                                                            25
บรรณานุกรม                                                                                             26
ภาคผนวก ก                                                                                              27
ภาคผนวก ข                                                                                              31
ประวัติผู้จัดทำ                                                                                            43https://docs.google.com/file/d/0B25FHsqx4iLFZWtXSjA2Z1hZdXc/edit



บทที่1
บทนำ
 1.  หลักการและเหตุผล
       จากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสกับปวงชนชาวไทย นานัปการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับปวงชนชาวไทยในทุกๆด้าน ซึ่งหากเราใส่ใจและสนใจนำพระบรมราโชวาทนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันของพวกเราทั้งด้านความคิด ด้านการงาน ครอบครัว และการใช้ชีวิตแล้ว เชื่อแน่ว่าจะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นอย่างแน่นอน
       พระบรมราโชวาทของพระองค์ที่มอบให้แก่พวกเราชาวไทยในหลากหลายเรื่องนั้น ล้วนแล้วแต่มีคติสอนใจ ที่อยากให้ทุกคนนำมาปฏิบัติ เพื่อความสุข ความสำเร็จ และความจำเริญ เปรียบเสมือนเป็นคำสอนของพ่อที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ให้พระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นคนดีและการใช้ชีวิตในสังคม
       พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส ส่วนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประทานให้กับปวงชนชาวไทยทุกคนให้เรานำไปปฏิบัติตนเป็นคนดีของครอบครัว เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติต่อไปก็ขอให้พวกเราน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เลิกทะเลาะเบาะแว้ง เลิกโกรธ เลิกเกลียด และทำร้ายกัน ยึดมั่นในความดี ในความถูกต้อง เป็นคนดีของครอบครัวและสังคม มีศีลธรรมเพียงเท่านี้ ก็จะทำให้เราค้นพบความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง
2.  วัตถุประสงค์
       2.1 เพื่อที่จะนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์สั้น ซึ่งเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับพระบรมราโชวาทในการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
       2.2 เพื่อนำพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเด็กเยาวชนมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
       2.3 เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนนำพระบรมราโชวาทไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีสติ
3.  สมมติฐาน
       พระบรมราโชวาทเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความปรีชาสามารถในการกลั่นกรองข้อมูล เพื่อมอบให้ปวงชนชาวไทยได้นำไปปฏิบัติใช้ ในโอกาสต่างๆซึ่งจะทำให้มีชีวิตที่ดีและมีความสุขอย่างแท้จริง
4.  ขอบเขตของการดำเนินงาน
       4.1 รวบรวมข้อมูลและศึกษาความรู้เกี่ยวกับพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       4.2 เวลาของการดำเนินการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
       4.3 แหล่งค้นคว้าข้อมูลคือ หนังสือ ห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต
5.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
       5.1 ได้นำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสื่อในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นให้แก่เด็กและเยาวชน
       5.2 ทำให้นำพระบรมราโชวาทไปใช้ในการดำเนินชีวิต
       5.3 ทำให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสติและระมัดระวังถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
6. นิยามศัพท์เฉพาะ
     6.1 ภาพยนตร์สั้น หมายถึง เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือเป็นการแสดงเสมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจินตนาการของผู้สร้างก็ได้
  6.2 พระบรมราโชวาท หมายถึง โอวาท คำสั่งสอนหรือคำชี้แนะ เช่น พระบรมราโชวาทในการพระราชทาน ปริญญา
   6.3 พระราชดำรัส หมายถึง คำพูดของพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้พระราชทานไว้ให้ คน กลุ่มบุคคลในโอกาสหรือวาระต่างๆกันไป





บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.  ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดำเนินชีวิต
       “คำพ่อสอน-ความสุขในการดำเนินชีวิต เป็นการประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ในช่วงเวลาอันยาวนานกว่า 8 ทศวรรษที่ผ่านมา ที่ผู้รวบรวมเห็นว่าเป็นไปเพื่อการสร้างความสุขในการดำเนินชีวิต พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเหล่านี้มีความลึกซึ้งกว้างขวางเกี่ยวข้องในทุกปริมณฑลของมนุษย์ คือ ทั้ง กาย-จิต-สังคม-สิ่งแวดล้อม
       สุขภาพหรือสุขภาวะไม่ใช่เป็นเรื่องโรงพยาบาลมดหมอหยูกยาเท่านั้นแต่ส่วนใหญ่อยู่นอกวงการสาธารณสุข เป็นเรื่องของการพัฒนา กาย-จิต-สังคม-ปัญญา ครบทุกด้าน เมื่อทุกอย่างถูกต้องจึงเกิดสุขภาพหรือสุขภาวะ
       พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีลักษณะพิเศษต่างจากตำรับตำราและการเรียนรู้ทั่วๆ ไป ขอให้ผู้อ่านสังเกตประเด็นนี้ให้ดีจะได้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง การเรียนการสอนทั่วไปในโลกล้วนเรียนรู้เฉพาะเรื่องนอกตัว เกือบจะไม่มีเลยที่เรียนรู้ให้ "รู้ตัวเอง" เมื่อไม่รู้ตัวเองก็ตั้งอยู่ในความดีไม่ได้ แต่พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเน้นให้ "รู้ตัวเอง" คือรู้กาย รู้ใจ หรือรู้ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง หรือที่เรียกว่าสติ เมื่อรู้ตัวเองก็สามารถกำกับให้ปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา ที่เรียกว่าการทำให้เจริญ ๔ ประการ คือ กายภาวนา จิตภาวนา   ศีลภาวนา   ปัญญาภาวนา
       “ศีลนั้นหมายถึงสังคมหรือการอยู่ร่วมกัน เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ทำให้ตั้งอยู่ในความดี การตั้งอยู่ในความดี ทำให้มีสุขภาวะ สุขภาวะทำให้อยากรู้ตัวเอง 


       “คำพ่อสอน ถ้าอ่านเป็นความรู้เท่านั้นจะไม่เข้าใจตลอด แต่ต้องปฏิบัติ การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเรื่องที่ละเอียดและลึกซึ้งทางจิตได้ เพราะทรงปฏิบัติ ฉะนั้นในการศึกษา คำพ่อสอน นี้ ควรศึกษาไปปฏิบัติไป แล้วก็กลับมาอ่านกันใหม่ อ่านให้ละเอียดทุกๆ คำ พยายามให้เข้าใจความหมายแล้วปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วจะเข้าใจดีขึ้น อ่าน-ปฏิบัติ-อ่าน-ปฏิบัติ กลับไปกลับมาอย่างนี้ แล้วความเข้าใจและการปฏิบัติจะดีขึ้นเรื่อยๆ สุขภาวะจะผุดบังเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความเข้าใจ และการปฏิบัติที่ดีขึ้น
       มนุษย์เมื่อรู้ตัวเองและเข้าถึงความจริง จะประสบความสำเร็จอันล้นเหลือ เกิดมิตรภาพอันไพศาล เกิดความสุขอันประณีตอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน และอยากให้เพื่อนมนุษย์ได้ประสบความสุขเช่นนี้บ้าง ความสุขจากการรู้ตัวเอง การเข้าถึงความจริง การเข้าถึงความงาม การเข้าถึงความดี เป็นความสุขราคาถูก (Happiness at low cost) จึงเป็นไปได้สำหรับทุกคน แย่งชิงกันไม่ได้ แต่สร้าง หรือบ่มเพาะและช่วยกันสร้างได้ จึงเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ
       คนไทยโชคดีที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงตั้งอยู่ในความดี ไม่มีอำนาจใดๆ เลยที่จะทำให้เราอยู่เย็นเป็นสุขได้ นอกจากพวกเราทุกคนจะต้องสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดี ขอให้ใช้ "คำพ่อสอน-ความสุขในการดำรงชีวิต" นี่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดี เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันทั้งในประเทศ ในโลกนี้ไม่มีความงามใดๆ ที่งามเทียบเท่าความงามที่เกิดจากการทำเพื่อเพื่อมนุษย์
2.  ความสุขด้านกาย
       “สุขภาพจิตและสุขภาพทางกายนี้ มีความสัมพันธ์ที่จะโยงกันอย่างยิ่ง

พระราชดำรัสในโอกาสที่คณะจิตแพทย์ นักวิชาการสุขภาพจิต
อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่าง ๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์  วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2520

       “ความรู้นั้นแบ่งเป็น 2 อย่าง ความรู้เกี่ยวข้องกับกาย และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับใจ ความรู้เกี่ยวข้องกับกายที่ได้ฝึก และที่ได้มาเรียนรู้ก็คือ วิธีที่จะรักษาตัวให้แข็งแรง รักษาสิ่งของของตัวให้อยู่ ให้ดี และสร้างสรรค์ให้สิ่งที่ใช้หรือสิ่งที่มีให้อยู่ดี และให้ดีขึ้น และทางจิตใจทุกคนมีความปรารถนาที่จะมีความสุข ต้องการมีความสงบ ต้องการมีความรู้ ความสามารถ ก็ได้ฝึกได้เรียนรู้ จากการพบปะกันในหมู่ลูกเสือชาวบ้าน และได้รับความรู้จากวิทยากร ความรู้ทั้งหลายทั้งกายทั้งใจนี้ ก็เกิดประโยชน์แก่ตัว
พระราชดำรัส พระราชทานในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสระบุรี
ณ วัดหนองเขื่อนช้าง อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี  วันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2519

       “กายที่มีสุขภาพดีก็หมายความว่ากายที่แข็งแรง ที่เดินได้ ยืนได้ นั่งได้ มีกำลัง มีทุกอย่าง รวมทั้งมีความคิดที่ดี ถ้ามีสุขภาพจิตที่ดีก็มีกำลังเป็นกำลัง ที่จะแผ่ความเมตตาให้แก่คนอื่น มีกำลังที่จะคิดในสิ่งที่ถูกต้อง ที่จะทำให้มีความ เจริญรุ่งเรืองแก่ตัวและความเจริญรุ่งเรืองในสังคม
พระราชดำรัส ในโอกาสที่คณะจิตแพทย์ นักวิชาการสุขภาพจิต
อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์  วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2540

       ชีวิตของแต่ละคนจะต้องประกอบด้วยสิ่งใดสำหรับให้มีชีวิตอยู่ได้ ถ้าเราคิดสักหน่อยว่าเรามีร่างกายที่จะต้องอุ้มชูตนเอง คือหมายความว่าทุกวันนี้เราจะต้องหาอาหารมาเลี้ยง ถ้าไม่มีอาหารเลี้ยงร่างกายนี้เป็นเวลาหนึ่ง ก็ทำให้ ร่างกายซูบผอมและอ่อนเพลียลงไป ไม่มีทางที่จะทำงานทำการใดๆ หรือแม้จะทำงานที่ไม่ใช่เป็นงานคือเล่นสนุกอะไรก็ตาม ก็ไม่ได้ทั้งนั้น คิดอะไรก็ไม่ออก ดำเนินชีวิตไม่ได้ ถ้าไม่มีอาหาร ถ้ามองดูในแง่นี้เพียงอาหารที่มาใส่ท้อง ก็เป็น กิจการที่กว้างขวางอย่างมากมาย ทีนี้พูดกันว่าคนเราต้องทำมาหากิน ดูเป็นของ ที่สำคัญที่สุด เพราะว่าถ้าไม่ทำมาหากินก็ไม่มีชีวิตอยู่ได้ หรือมีชีวิตก็แร้นแค้น และทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารใจอีก ถ้าคนเราไม่มีอาหารใจไม่ขวนขวายหาความรู้ จะไม่สบายใจ และจะไม่เป็นคนที่เจริญ ฉะนั้น ทุกคนที่ ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ และมีชีวิตอยู่อย่างดี ก็ต้องอุ้มชูให้อาหารแก่ตาและหาทาง ที่จะมีอาหารของใจด้วย
พระราชดำรัส พระราชทานเนื่องในการฉลองครบรอบ 50 ปี ของสโมสรโรตารี่ในประเทศไทย
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2523








       ทุกคนมีจิตใจที่ปรารถนาความสุข หรือความสำเร็จ แต่การหาความสุข หรือความสำเร็จนี้ ย่อมต้องเหนื่อย เหนื่อยแน่ ไม่มีใครที่มีความสุขหรือความสำเร็จได้โดยไม่เหนื่อย ถ้าไม่อยากที่จะเหนื่อยก็ต้องฝึกฝนกำลัง กำลังกายก็ต้องฝึก คนที่นอนอยู่เฉยๆ แม้จะสมมติว่านอนอยู่เฉยๆ ไม่ได้เดิน ไม่ได้ไปไหนเป็นเวลาสัก 10 วัน รับรองได้ว่าเวลาลุกขึ้นไม่มีกำลัง คือกำลังไม่ได้มาจากการพักผ่อน กำลังมาจากความเพียร การฝึก เช่นคนที่ได้ออกกำลังลุกขึ้นเดินทุกวัน ขยับกายให้ได้เป็นการฝึกกาย ย่อมมีกำลังกาย ผู้ที่เป็นนักกีฬาเขาต้องฝึก การฝึกนั้นเหนื่อย เหนื่อยแต่ว่าเมื่อเหนื่อยแล้วสร้างกำลังขึ้นมามันค่อยๆ หายเหนื่อย ถ้าสมมติว่าเราไม่ได้สร้างกำลัง เราไม่ได้ฝึกกายให้มีกำลัง เดินเพียง ๕๐ เมตรก็เหนื่อยแล้ว แต่ถ้าฝึกร่างกายให้ดี เดินหลายกิโลเมตรก็ไม่สู้จะเหนื่อยนัก จิตใจก็เหมือนกันจะต้องมีกำลัง และกำลังนั้นเพื่อหาความสุข ความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าไม่เหนื่อย ต้องเหนื่อย ต้องฝึกจิตใจให้ดี ถ้าฝึกจิตใจให้ดี ไม่ให้ขี้เกียจ ให้รู้จักว่างานเป็นอย่างไร แล้วก็เชื่อว่าถ้าทำงานอย่างนั้นก็จะได้ผลดี เป็นต้น ก็จะทำให้มีความสำเร็จ ร่างกายและจิตใจจะแข็งแรงพร้อมกัน
พระราชดำรัส พระราชทานแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา
ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา  วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2523

       ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ ให้อยู่เฉยๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็เจริญแข็งแรง คล่องแคล่ว และคงทนยั่งยืน ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้ แต่จะค่อยๆ เสื่อมไปเป็นลำดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร. ดังนั้น ผู้ที่ปรกติทำการงานโดยไม่ได้ใช้กำลัง หรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังกายให้พอเพียงกับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน. มิฉะนั้น จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่เขาจะใช้สติปัญญาความสามารถของเขาทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและแก่ส่วนรวมได้น้อยเกินไปเพราะร่างกายอันกลับกลายอ่อนแอลงนั้น จะไม่อำนวยโอกาสให้ทำ การงานโดยมีประสิทธิภาพได้
พระราชดำรัส เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมสัมมนาเรื่องการออกกำลังเพื่อสุขภาพ
วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2523

       การกีฬานั้นย่อมเป็นที่ทราบกันอยู่โดยทั่วไปแล้วว่า เป็นปัจจัยในการบริหารร่างกายให้แข็งแรง และฝึกอบรมจิตใจให้ผ่องแผ้วร่าเริง รู้จักแพ้และชนะ ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน สามัคคีกลมเกลียวกัน อย่างที่เรียกกันว่ามีน้ำใจเป็นนักกีฬา รวมความว่า ผลของการกีฬา คือ ผลทางร่างกายและทางจิตใจ
พระบรมราโชวาท ในวันเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปี ของกระทรวงศึกษาธิการ
วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2498 
3.  ความสุขด้านจิตใจ
       “ดนตรีนี้มีไว้สำหรับให้บันเทิง แล้วก็ให้จิตใจสบาย
พระบรมราโชวาท พระราชทานเนื่องในงานวันสังคีตมงคล ครั้งที่ 2
ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร  วันพฤหัสบดี ที่ 31 กรกฎาคม 2512

       การดนตรีนี้เป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่ง หรือในหมู่ศิลปะทั้งหลาย อาจจะพูดได้ว่าเป็นศิลปะที่สำคัญที่สุด อย่างน้อยสำหรับในจิตใจของศิลปิน นักดนตรีคงจะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะว่าการดนตรีนี้เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือ ได้ว่าเป็นศิลปะที่ทำให้เกิดความปีติ ความภูมิใจ ความยินดี ความพอใจ ได้มากที่สุด เพราะว่ามีเหตุผลว่าศิลปะอย่างอื่นเมื่อปฏิบัติแล้ว หรือเมื่อเป็น ศิลปินในศิลปะนั้นๆ จะไม่เกิดความพอใจเท่ากับดนตรี ดนตรีนั้นจะเป็น นักปฏิบัติเพลง คือนักเล่นเครื่องดนตรีก็ตาม จะเป็นนักแต่งเพลง แต่งทำนอง หรือคำร้องก็ตาม จะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในด้านไหนก็ตาม จะได้ความปลื้มใจ จะได้ความพอใจได้
พระราชดำรัส ในโอกาสที่คณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ฯ
เฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเงิน เพื่อสมทบทุน โครงการพัฒนาตามพระราชประสงค์
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันพุธ ที่ 16 ธันวาคม 2524

       การให้การศึกษาแก่เด็กต้องเริ่มตั้งแต่เกิด ขึ้นต้นก็ต้องสอนให้รู้จักใช้อวัยวะ และประสาทส่วนต่าง ๆ ต้องอาศัยคอยควบคุมฝึกหัด จนสามารถใช้อวัยวะและประสาทส่วนนั้น ๆ ทำกิจวัตรทั้งปวงของตนเองได้ เมื่อสามารถทำกิจวัตรของตนเองได้แล้ว ถัดมาก็ต้องสอนให้รู้จักทำการต่าง ๆ ให้รู้จักแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการให้ได้มากขึ้น เพื่อทำให้ชีวิตมีความสะดวกมีความสบาย การให้การศึกษาขั้นนี้ ได้แก่การฝึกกายให้มีความคล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ และสามารถในการปฏิบัติ ประกอบกับการสอนวิชาความรู้ต่าง ๆ อันเป็นพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพเลี้ยงตัว การให้การศึกษาอีกขั้นหนึ่ง คือการสอนและฝึกฝนให้เรียนรู้วิทยาการที่ก้าวหน้าขึ้นไป พร้อมทั้งการฝึกฝนให้รู้จักใช้เหตุผลสติปัญญาและหาหลักการของชีวิต เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ความเจริญงอกงามทั้งทางกายและทางความคิด
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ขิงวิทยาลัยวิชาการศึกษา
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2514

       ความเข้มแข็งในจิตใจนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องฝึกฝนแต่เล็ก เพราะว่าต่อไปถ้ามีชีวิตที่ลำบาก ไปประสบอุปสรรคใด ๆ ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความรู้ ไม่มีทางที่จะผ่านอุปสรรคนั้นได้ เพราะว่าถ้าไปเจออุปสรรคอะไร ก็ไม่มีอะไรที่จะมาช่วยเราได้ แต่ถ้ามีความรู้ มีอัธยาศัยที่ดี และมีความเข้มแข็งในกาย ในใจ ก็สามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ นั้นได้ ความเข้มแข็งในใจนั้น หมายความว่า ไม่ท้อถอย และไม่เกิดอารมณ์มาทำให้โกรธ อารมณ์นั้นก็คือ ความโกรธ ความฉุนเฉียว ความน้อยใจ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คิดไม่ออก
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะครูละนักเรียนโรงเรียนราชวินิต
วันที่ 31 ตุลาคม 2518

       “เด็กเป็นอันมากมีความรักดีมาแต่กำเนิด จะเรียนจะเล่นจะทำสิ่งใด ก็มุ่งมั่นทำให้ดีเด่น ไม่มีปัญหาอุปสรรคหรือความลำบากยากแค้นใดๆ จะกีดกั้นไว้ได้ เด็กเหล่านี้ ผู้ใหญ่ควรสนใจและแผ่เมตตา เกื้อกูลประคับประคองให้ได้มีโอกาสพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ดี ทั้งด้านการศึกษาและจิตใจ เขาจักได้เจริญเติบโตเป็นคนดีพร้อม และเป็นตัวอย่างแก่เยาวชนทั่วไป
พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2533

       เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้วยังต้องหัดทำการงานและทำความดีด้วย เพราะการทำงานจะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้ และการทำดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญ ทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ
พระบรมราโชวาท  พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2530

       การที่เด็กสมัยนี้ ที่เรียกว่าเด็กๆ มีความเป็นผู้ใหญ่มากกว่าผู้ใหญ่บางคน ก็มาจากการที่มีโอกาสได้เล่าได้เรียนในวิชาการมากขึ้น ถ้าเรียนในทางวิชาการมาก คือทางวิทยาศาสตร์หรือทางวิทยาการต่าง ๆ ย่อมมีความคิดเกิดปัญญาขึ้นมา สามารถที่จะคิดในทางธรรมะมากขึ้น เมื่อคิดในทางธรรมะมากขึ้น คือมีความเข้มงวดมากขึ้นกว่าผู้ใหญ่ที่ผ่านชีวิตมาแต่ก่อนนี้ ย่อมเป็นผู้ใหญ่มาก
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะผู้แทนองค์การศาสนา คณะครูและนักเรียน
วันที่ 4 ธันวาคม 2513

       “นักศึกษาอยู่ในวัยที่มีความคิด นักศึกษามีพลัง แต่ว่าโดยมากนักศึกษาที่ทั่วโลกพูดถึงว่ามีพลังนั้น เราไม่ทราบว่าพลังอะไร ส่วนมากเป็นพลังที่ทำให้เห็น มีข่าวว่าจะทำให้เกิดความหายนะมากกว่าความพัฒนา อันนี้ก็เป็นปัญหาทางหนึ่งที่ทุกคนที่อยู่ในวัยศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยจะต้องเผชิญ คนเขามาบอกว่านักศึกษามีพลัง ต้องไปทำโน่นทำนี่ อันนี้ขอให้ทุกคนที่กำลังศึกษาได้หยุดพิจารณาสักครู่ก็อาจพอทราบ การที่จะชักจูงให้ทำอะไรขอให้พิจารณาก่อนว่า ที่ชักจูงนั้นมีสาระหรือไม่ ข้อนี้เป็นข้อที่เมื่อกี้ขอแนวทาง คือใครมาบอกว่านักศึกษามีพลัง ต้องยอมรับว่ามีพลัง เมื่อมีพลังแล้วให้ใช้พลังนั้นในทางที่พัฒนา ไม่ใช่ในทางที่หายนะ ก็จะเป็นทางที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองและตนเอง ที่จะทำให้ตนเองมีความเจริญรุ่งเรืองได้ ต่อไป
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 11 มกราคม 2525

       การทำงานยากลำบากกว่าการเรียน การเรียนนั้นเรียนตามหลักสูตร หรือเรียนวิชาต่าง ๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดลำดับให้ แต่การทำงานไม่มีหลักสูตรวางไว้ จำจะต้องใช้ความริเริ่มและความคิดพิจารณาด้วยตนเอง ในอันที่จะทำสิ่งใด อย่างไร เมื่อใด หากไม่รู้จักพิจารณาใช้ให้ถูกช่อง ถูกโอกาส ถึงมีวิชาอยู่ ก็ไม่เป็นผลแก่งานและแก่ตัวนัก
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 3 กรกฎาคม 2512

       เป็นไปได้ยากยิ่ง ที่ทุกคนจะมีโอกาสได้ทำงานตรงกับวิชาที่เรียนมา หรือพอดีกับคุณวุฒิที่มีอยู่. บางคนอาจต้องทำงานต่ำกว่าระดับวิทยฐานะ บางคนอาจต้องทำงานคนละแนวทางกับที่ศึกษา. จะเป็นอย่างใดก็ตาม ก็ควรยินดีและเต็มใจทำ เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษาเพียงพออยู่แล้ว ที่จะคิดหาแนวปฏิบัติงานทั้งนั้นให้ดีได้. ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ว่า จะต้องตั้งใจทำงานให้จริง ด้วยความคิด ด้วยความพยายาม ด้วยความพอเหมาะพอดี และด้วยความรู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง พร้อมทั้งได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับด้วย
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
วันที่ 9 กรกฎาคม 2530





       ผู้ที่เป็นเยาวชนที่จะต้องทำหน้าที่สำหรับรักษาบ้านเมืองต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เมื่ออายุถึงขั้นที่จะเรียกว่าเป็นผู้ใหญ่ ได้เล่าเรียนมาแล้วเพื่อให้ปฏิบัติงานของชาติได้ต่อไป ก็ต้องเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติงานนั้น ในเวลานี้ก็จะต้องหาความรู้ใส่ตัว ฝึกฝนจิตใจ ฝึกฝนความคิดที่ดี เพื่อให้เข้าใจ ให้มีความคิดพิจารณา ให้มีเหตุผลที่แน่นแฟ้น มีเหตุผลที่จะใช้การได้ เพื่อแยกสิ่งที่ดีที่ควรทำจากสิ่งที่ไม่ดีที่ไม่ควรทำ ฉะนั้น หน้าที่ของเยาวชนก็คือเรียนรู้ แล้วก็นอกจากเรียนรู้คือเมื่อเรียนแล้ว ก็เริ่มช่วยกันสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมือง โดยใช้ความรู้ที่ได้มาให้เป็นประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองให้มั่นคง
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะเยาวชนจาก 20 จังหวัด
วันที่ 6 เมษายน 2512

       บัณฑิตผู้ได้รับความสำเร็จอย่างสำคัญในด้านการศึกษามาแล้ว ย่อมมุ่งหมายที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนสร้างสรรค์ความสำเร็จที่ยิ่งสูงขึ้นไปอีก คือ การสร้างความเจริญมั่นคงในชีวิตและฐานะหน้าที่. ความสำเร็จดังนี้ ถึงหากจะเป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง แต่ก็มิใช่สิ่งที่ทุกคนจะได้มาโดยง่าย เพราะในการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการงาน ย่อมจะต้องมีปัญหาต่าง ๆ เป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จอยู่เสมอ ยากที่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะหลีกเลี่ยงพ้นได้. คนก็มีปัญหาของคน สังคมก็มีปัญหาของสังคม ประเทศก็มีปัญหาของประเทศ แม้กระทั่งโลกก็มีปัญหาของโลก. ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตและกิจการงานจึงเป็นเรื่องธรรมดา. ข้อสำคัญ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จะต้องแก้ไขให้ลุล่วงไปโดยไม่ชักช้า. ผู้ใดมีสติปัญญา คิดได้ดี ปฏิบัติได้ถูก ผู้นั้นก็มีหวังบรรลุถึงเป้าหมาย มีความสำเร็จสูง ถ้าเป็นตรงกันข้าม ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จสมหวังได้
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 31 กรกฎาคม 2539

       วิธีการที่จะให้บ้านเมืองมั่นคงและเจริญก้าวหน้านั้นมีอยู่หลายอย่าง ข้อแรกคือจะต้องให้เข้าใจว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ ซึ่งโดยเฉพาะสำหรับเยาวชน ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะทราบว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ เพราะว่าบางคนก็ได้รับคำบอกให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ เราทำไปอาจผิดก็ได้ เมื่อมีกิจการอะไรที่จะทำ ขอให้ทุกคนใช้ความคิดพิจารณา ความคิดพิจารณานี้แปลว่า ฟังว่ากิจการจะมีอะไร เขามาบอกว่าให้ทำอะไร แล้วก็มาคิดด้วยความคิดของตัว คือให้มีเหตุผล เพราะทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องมีเหตุผล ที่เขามาบอกให้ทำอะไร ต้องให้เข้าใจว่าสมเหตุสมผล
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะเยาวชนจาก 20 จังหวัด
วันที่ 6 เมษายน 2512

       การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทนเสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตน ในความเพียรของ ตนต้องถือว่าวันนี้เราทำยังไม่ได้ผล อย่าไปท้อ บอกว่าวันนี้เราทำแล้วก็ไม่ได้ผล พรุ่งนี้เราจะต้องทำอีก วันนี้เราทำ พรุ่งนี้เราก็ทำ อาทิตย์หน้าเราก็ทำ เดือนหน้าเราก็ทำ ผลอาจได้ปีหน้า หรืออีกสองปีหรือสามปีข้างหน้า
กระแสพระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ
วันที่ 27 ตุลาคม 2516

       “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิตรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
พระบรมราโชวาทพระราชทานผ่านมูลนิธิชัยพัฒนา

       “สมัยก่อนนี้พอมีพอกินสมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกินจึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้ทุกคนมีความพอเพียงได้
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2546

       “ฉะนั้น ควรที่จะปฏิบัติสิ่งที่พอเพียง ทางความคิดก็เหมือนกัน ไม่ใช่ทางกายเท่านั้น ถ้ามีใครมีความคิดอย่างหนึ่งและต้องการบังคับให้คนอื่นคิดอย่างเดียวกับตัว ซึ่งอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูกก็ไม่สมควรทำ. ปฏิบัติอย่างนี้ก็ไม่ใช่ปฏิบัติแบบพอเพียง
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย  สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม  2541
      


ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล
พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย  สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2541

4.  เรื่องย่อ
       สมหมายภารโรงประจำโรงเรียน อายุ 49 ปี เขาอาศัยอยู่กับลูกชายที่ห้องเก็บเครื่องดนตรีหลังโรงเรียน ลูกชายของเขาเป็นเด็กออทิสติก อายุ 12 ปี ชื่อว่า เก่ง สมหมายรู้ว่าลูกของเขาเป็นเด็กที่แตกต่างจากคนอื่น สมหมายจึงต้องเอาใจใส่และดูแลเก่งเป็นพิเศษ เพื่อให้เก่งเรียนรู้ทุกอย่างและสามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆในโรงเรียนได้และด้วยความที่เขามีความรู้น้อย เขาจึงใช้หนังสือ คำพ่อสอนซึ่งเป็นพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาอ่านและสอนให้เก่งฟังทุกคืนเพื่อหวังให้คำสอนติดตัวเก่งไป ในยามที่เขาไม่อยู่ เพื่อให้เก่งสามารถดูแลตัวเองและช่วยเหลือตัวเองต่อไปในอนาคต
       สมหมายได้รับความเมตตาจากครูอารี คอยช่วยเหลือและคอยดูแลเก่งในเวลาที่เขาทำงานในโรงเรียน เก่งมักมีปัญหากับเพื่อนอยู่บ่อยๆ เนื่องจากเพื่อนหลายคนไม่ค่อยเข้าใจ เก่งมักชอบทำอะไรซ้ำๆ พูดซ้ำๆ ใช้สิ่งของและวางสิ่งของอย่างเป็นระเบียบ และเป็นคนมีสมาธิสั้น วันหนึ่งในขณะที่เก่งนั่งเรียนหนังสืออยู่กับเพื่อนในห้อง เพื่อนหยิบดินสอของเก่งไปใช้ เก่งเห็นว่าเป็นสมบัติของเขาจึงเอาคืน เพื่อนไม่ยอมคืนให้ ทั้งคู่แย่งดินสอกัน ครูอารีเห็นเข้าจึงลงโทษให้เก่งและเพื่อนออกไปยืนหน้าชั้นเรียน และเรียกสมหมายไปตักเตือนเรื่องเก่งในตอนเย็น สมหมายขอความเมตตาจากคุณครูอารี เพราะเขาไม่มีที่พึ่งที่ไหนอีก และคิดว่าคงไม่มีใครเข้าใจเก่งได้เท่ากับครูอารี และรับปากครูอารีว่าจะพยายามสอนให้เก่งปรับตัวให้ดีขึ้น สมหมายครุ่นคิดหาทางที่จะสอนเก่ง ตอนเย็นหลังจากที่เก่งและสมหมายกลับบ้านแล้ว สมหมายจึงลองพยายามให้เก่งมาทอดไข่เจียวเอง และใช้คำจากหนังสือ คำพ่อสอนสอนเก่ง
       เช้าวันถัดมาสมหมายขึ้นไปซ่อมหลังคาโรงเรียน เนื่องจากอากาศร้อนจัดจึงทำให้สมหมายเป็นลมพลัดตกลงมา ศีรษะกระแทกสลบไป ครูขวัญตาทราบข่าวจึงรีบไปแจ้งกับครูอารี หลังทราบข่าวครูอารีเป็นห่วงเก่งมาก กังวลว่าเก่งจะอยู่อย่างไร
       หลังจากที่พ่อไม่อยู่แล้ว เก่งเริ่มทำอะไรด้วยตัวเองได้ จากการนึกถึงสิ่งที่พ่อทำ และสิ่งที่พ่อสอน เก่งทอดไข่กินเอง เก่งใส่เสื้อผ้าแต่งตัวไปโรงเรียนเอง เก่งปรับตัวเข้าหาเพื่อนได้ เก่งแบ่งขนมให้เพื่อน เก่งทำความสะอาดบ้าน และเก่งอ่านหนังสือ คำพ่อสอนทุกคืนด้วยตัวเอง ก่อนกลับบ้านเก่งจะไปหาพ่อ นั่งมองพ่อ เก่งเห็นพ่อนอนนิ่งทุกวัน เก่งไม่รู้ว่าพ่อเป็นอะไร เก่งได้แต่อ่านหนังสือ คำพ่อสอนให้พ่อฟัง
       ใกล้ถึงวันพ่อ คุณครูอารีให้ทุกคนเขียนเรียงความเรื่อง พ่อของฉันมาส่ง วันที่ส่งเรียงความ เก่งออกไปยืนหน้าห้องในมือถือกระดาษ 1 แผ่น เล่าเรื่องราวพ่อของเขาให้ทุกคนฟังในสิ่งที่พ่อสอนและบอก เก่งเล่าจนจบยื่นกระดาษให้ครูอารี ทุกคนปรบมือให้เก่ง ครูอารีมองไปที่กระดาษเรียงความเห็นเพียงรูปวาดของเก่งและพ่อ ครูอารีซาบซึ้งปรบมือให้เก่ง ที่เก่งสามารถนำคำที่พ่อสอนมาใช้ให้ตัวเขาเองเรียนรู้และนำมาใช้ได้ เลิกเรียนเก่งเดินทางกลับบ้าน เก่งเจอพ่อยืนรออยู่ เก่งดีใจมาก วิ่งเข้าไปกอดพ่อ ที่พ่อของเขากลับมาแล้ว คืนนั้นเก่งอ่านหนังสือ คำพ่อสอนให้พ่อฟังอย่างมีความสุข

5.  บล็อก
       บล็อกเป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บบล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า บล็อกเกอร์
       บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ให้กับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์        
       ความนิยม
          บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น
          จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
       การใช้งานบล็อก
          ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
       ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
       สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น
       สังคมบล็อก
          สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ
         อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงค์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

6.  โปรแกรม Photoshop
       อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) มักเรียกสั้นๆ ว่า โฟโตชอป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการจัดการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ (photo editing and retouching) แบบแรสเตอร์ ผลิตโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ซึ่งผลิตโปรแกรมด้านการพิมพ์อีกหลายตัวที่ได้รับความนิยม เช่น Illustrator และ InDesign ปัจจุบันโปรแกรมโฟโตชอปพัฒนามาถึงรุ่น CS6 (Creative Suite 6)
ประวัติ
       นักศึกษาปริญญาเอกจากมิชิแกนชื่อ ธอมัส โนล (Thomas Knoll) ได้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับทำภาพสีเฉดเทาขาวดำในชื่อ "ดิสเพลย์" (Display) ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นโฟโต้ชอปในปัจจุบัน [2] บริษัทอะโดบีได้พัฒนาโฟโตชอปให้สามารถใช้งานกับไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้ ในโฟโตชอปรุ่น 2.5 หลังจากที่พัฒนารุ่นแรกสำหรับเครื่องแมคอินทอชเท่านั้น และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนกระทั่งรุ่นปัจจุบัน รุ่น CS6


ความสามารถ
       ตกแต่งภาพ โปรแกรมโฟโตชอปเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่มีประสิทธิภาพ การทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพของโฟโตชอปนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่จัดเก็บข้อมูลรูปภาพแบบ Raster โฟโตชอปสามารถใช้ในการตกแต่งภาพเล็กน้อย เช่น ลบตาแดง, ลบรอยแตกของภาพ, ปรับแก้สี, เพิ่มสีและแสง หรือการใส่เอฟเฟกต์ให้กับรูป เช่น ทำภาพสีซีเปีย, การทำภาพโมเซค, การสร้างภาพพาโนรามาจากภาพหลายภาพต่อกัน นอกจากนี้ยังใช้ได้ในการตัดต่อภาพ และการซ้อนฉากหลังเข้ากับภาพ
       โฟโตชอปสามารถทำงานกับระบบสี RGB, CMYK, Lab และ Grayscale และสามารถจัดการกับไฟล์รูปภาพที่สำคัญได้ เช่น ไฟล์นามสกุล JPG, GIF, PNG, TIF, TGA โดยไฟล์ที่โฟโตชอปจัดเก็บในรูปแบบเฉพาะของตัวโปรแกรมเอง จะใช้นามสกุลของไฟล์ว่า PSD จะสามารถจัดเก็บคุณลักษณะพิเศษของไฟล์ที่เป็นของโฟโตชอป เช่น เลเยอร์, ชันแนล, โหมดสี รวมทั้งสไลส์ ได้ครบถ้วน

7.  ภาพยนตร์
       ภาพยนตร์ คือ เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้
       ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง
เทคโนโลยีภาพยนตร์
       ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ปัจจุบัน ความเร็วที่ใช้ในการถ่ายทำคือ 24 เฟรม ต่อ 1 วินาที
       ในยุคต่อมามีการพัฒนาภาพยนตร์สามมิติ โดยให้ผู้ชมสวมใส่แว่นตาพิเศษเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม โดยภาพที่เห็นมีมิติความลึกสมจริง ในปี พ.ศ. 2495 ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง Bwana Evil เป็นภาพยนตร์สามมิติเรื่องแรกและล่าสุดในปี 2010 "อวตาร" เป็นภาพยนตร์ที่มีคนเข้าชมในระบบ 3 มิติเป็นจำนวนมาก
ประวัติ
       ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า คิเนโตสโคป (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า ถ้ำมอง มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที
       ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ ซีเนมาโตกราฟ (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า ซีเนมา (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน
       ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
       พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย
       ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD, DVD และ Blu-ray Disc เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต
       ภาพยนตร์สั้น หรือ ภาพยนตร์สั้น (อังกฤษ: Short film, หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Short) เป็นประเภทของภาพยนตร์อย่างหนึ่งที่เหมือนกับภาพยนตร์ทั่วไป ที่เล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงเฉกเช่นภาพยนตร์ความยาวปกติ เพียงแต่ว่าเป็นการเล่าเรื่องประเด็นสั้น ๆ หรือประเด็นเดียวให้ได้ใจความ มาตรฐานของภาพยนตร์สั้น คือ มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 นาที
       สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์สั้นเรื่องแรกเกิดขึ้นในสมัยของรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ความยาว 1 นาทีโดยช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ (Lumiere) ของฝรั่งเศส ผู้ผลิตและพัฒนากล้องถ่ายภาพยนตร์สำคัญรายหนึ่งของโลก
       ปัจจุบัน ภาพยนตร์สั้นได้รับความสนใจและตื่นตัวอย่างมาก มีผู้สร้าง ผู้ผลิตหลายรายมากขึ้น และในการแจกรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80 ในปี ค.ศ. 2012 ที่เป็นการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 ก็เป็นครั้งแรกด้วยที่มีการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ประเภทนี้ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์สั้น (Live Action) และแอนิเมชั่นสั้น (Animated)



บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม

25-30 พฤศจิกายน 2555
- ศึกษาเกณฑ์การวัดและประเมินผลการทำโครงงาน
- ศึกษาเกณฑ์และวิธีการทำรายงาน
- เลือกหัวข้อเรื่องและลงทะเบียน
- ศึกษาค้นคว้าหัวข้อเรื่อง

1-8 ธันวาคม 2555
- หาขอบเขตของเนื้อหา
- ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องเพิ่มเติม
- ศึกษาคำสำคัญ   คำถามในประเด็นความรู้   และสมมุติฐาน

9-15 ธันวาคม 2555
- ศึกษาการเขียนรายงาน
- พบครูที่ปรึกษา เสนอโครงร่าง
- ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากเอกสารและแหล่งค้นคว้า

16-22 ธันวาคม 2555
- พบครูที่ปรึกษา งานรายงานความก้าวหน้า
- ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
- พบครูที่ปรึกษา  เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม  รายงานความก้าวหน้า  และนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข
-เขียนบทภาพยนตร์
-แนะนำบทแสดงแก่ผู้แสดงในภาพยนตร์สั้น
-จัดเตรียมอุปกรณ์  ฉาก  และสถานที่ที่ใช้ในการแสดง



23-31 ธันวาคม 255
- หาความรู้จากแหล่งข้อมูล (บทที่ 1)
- ลงมือเขียนรายงานการค้นคว้า (บทที่ 1)
- ส่งรายงานการค้นคว้า(ฉบับร่าง)  ขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา  เพื่อนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข
- เขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม (บทที่ 1)
- ส่งผลงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ต่อครูที่ปรึกษา (บทที่ 1)
- ส่งผลงานการค้นคว้าหาความรู้กับครูที่ปรึกษา (บทที่ 1)
-ถ่ายทำภาพยนตร์สั้น(ฉากนำเรื่อง)



1-5 มกราคม 2556
- หาความรู้จากแหล่งข้อมูล (บทที่ 2)
- ลงมือเขียนรายงานการค้นคว้า (บทที่ 2)
- ส่งรายงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง) ขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา เพื่อนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข
- เขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม (บทที่ 2)
- ส่งผลงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ต่อครูที่ปรึกษา (บทที่ 2)
- ส่งผลงานการค้นคว้าหาความรู้กับครูที่ปรึกษา (บทที่ 2)
-ถ่ายภาพยนตร์สั้น ตอนที่ 1-3



6-12 มกราคม 2556
- หาความรู้จากแหล่งข้อมูล (บทที่ 3)
- ลงมือเขียนรายงานการค้นคว้า (บทที่ 3)
- ส่งรายงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา เพื่อนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข
- เขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม (บทที่ 3)
- ส่งผลงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ต่อครูที่ปรึกษา (บทที่ 3)
- ส่งผลงานการค้นคว้าหาความรู้กับครูที่ปรึกษา (บทที่ 3)
-ถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ตอนที่ 4-6
-ออกแบบเว็บบล็อก
-ออกแบบพื้นหลัง  ส่วนเนื้อหา  ภาพประกอบ และสื่อๆต่างในการนำเสนอในเว็บบล็อก



13-19 มกราคม 2556
- หาความรู้จากแหล่งข้อมูล (บทที่ 4)
- ลงมือเขียนรายงานการค้นคว้า (บทที่ 4)
- ส่งรายงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา เพื่อนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข
- เขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม (บทที่ 4)
- ส่งผลงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ต่อครูที่ปรึกษา (บทที่ 4)
- ส่งผลงานการค้นคว้าหาความรู้กับครูที่ปรึกษา (บทที่ 4)
-ถ่ายภาพยนตร์สั้น ตอนที่ 7-10
-ตัดต่อภาพยนตร์สั้น
-ลงมือทำเว็บบล็อกตามแบบที่กำหนดไว้
-อัพเดตเนื้อหาและความคืบหน้าในระหว่างการดำเนินงานในเว็บบล็อก
-ตกแต่งเว็บบล็อก  โดยการเพิ่มสื่อต่างๆ เช่น ปุ่มถูกใจ วีดีโอ  สไลด์รูปภาพ





20-26 มกราคม 2556
- หาความรู้จากแหล่งข้อมูล (บทที่ 5)
- ลงมือเขียนรายงานการค้นคว้า (บทที่ 5)
- ส่งรายงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา เพื่อนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข
- เขียนรายงานการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม (บทที่ 5)
- ส่งผลงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ต่อครูที่ปรึกษา (บทที่ 5)
- ส่งผลงานการค้นคว้าหาความรู้กับครูที่ปรึกษา (บทที่ 5)
-ทดสอบและแก้ไขระบบต่างๆขอเว็บบล็อก
-นำเสนอเว็บบล็อกเรื่องพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเว็บไซต์กูเกิล


27-31 มกราคม 2556
- หาความรู้จากแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- ลงมือเขียนรายงานการค้นคว้า
- ส่งรายงานการค้นคว้า (ฉบับร่าง)  ขอคำแนะนำจากครูที่ปรึกษา เพื่อนำข้อผิดพลาดไปแก้ไข
- ส่งผลงานการค้นคว้าหาความรู้กับครูที่ปรึกษา

1-10 กุมภาพันธ์ 2556
-ส่งบันทึกการให้คำปรึกษา
-แก้ไขและตรวจทานบทที่ 1,2,3,4,5
-ส่งฉบับแก้ไขให้คุณครูที่ปรึกษาตรวจรอบสุดท้าย
-จัดทำฉบับจริง
14 กุมภาพันธ์ 2556
-นำเสนอรายงานและเว็บบล็อก
-ประเมินผล




บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

1.  ผลการดำเนินงาน
       1.1 ได้นำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นซึ่งเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับพระบรมราโชวาทในการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
       1.2 ได้นำพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
       1.3 ได้ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนนำพระบรมราโชวาทไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีสติ

2.  พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ในช่วงเวลาอันยาวนานกว่า 8 ทศวรรษที่ผ่านมา ที่ผู้รวบรวมเห็นว่าเป็นไปเพื่อการสร้างความสุขในการดำเนินชีวิต พระบรมราโชวาทพระราชดำรัสเหล่านี้มีความลึกซึ้งกว้างขวางเกี่ยวข้องในทุกปริมณฑลของมนุษย์ คือ ทั้ง กาย จิต สังคม สิ่งแวดล้อม

3.พระบรมราโชวาทนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
       พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีลักษณะพิเศษต่างจากตำรับตำราและการเรียนรู้ทั่วๆไปจะเกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง การเรียนการสอนทั่วไปในโลกล้วนเรียนรู้เฉพาะเรื่องนอกตัว เกือบจะไม่มีเลยที่เรียนรู้ให้ รู้ตัวเอง เมื่อไม่รู้ตัวเองก็ตั้งอยู่ในความดีไม่ได้ แต่พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเน้นให้รู้ตัวเอง คือ รู้กาย รู้ใจ หรือความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง หรือที่เรียกว่า สติ เมื่อรู้ตัวเองก็สามารถกำกับให้ปฏิบัติให้ถูกต้องได้


บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

1.  สรุปและอภิปราย
       พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานในโอกาสต่างๆเห็นว่าเป็นไปเพื่อการสร้างความสุขในการดำเนินชีวิตของปวงชนชาวไทย
       พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเน้นให้ รู้ตัวเอง คือรู้กาย รู้ใจ หรือรู้ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง หรือที่เรียกว่าสติ เมื่อรู้ตัวเองก็สามารถกำกับให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
       จะเห็นได้ว่า พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวทางการปฏิบัติผ่านพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสให้สังคมไทยดำเนินรอยตามตลอดมา

2.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการค้นคว้า
       2.1 สามารถนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสื่อในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นให้แก่เด็กและเยาวชน
       2.2 สามารถนำพระบรมราโชวาทไปใช้ในการดำเนินชีวิต
       2.3 สามารถให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงการใช้ชิวิตอย่างมีสติและระมัดระวังถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

3.  ข้อเสนอแนะ
       การทำรายงานค้นคว้าฉบับนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน หากผู้ที่สนใจในเนื้อหาของรายงานเล่มนี้ การนำศึกษาและสานต่อเพิ่มเติมในเรื่องของ พระบรมราโชวาท ได้ตามแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อการศึกษาข้อมูลที่ครบถ้วนให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจะเป็นผลดีแก่ผู้สนใจ 



                                                             บรรณานุกรม 
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาราช  คำพ่อสอน : ประมวลพระบรมราชโชวาท  และพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดำเนินชีวิต 2550 ,ประมวลพระบรมราชโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน/2551 ,ประมวลพระบรมราชโชวาท และพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจ 2552.
มูลนิธิพระดาบส:กรุงเทพ:2551(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://www.kamphorsorn.org/old_book/web/, http://www.kamphorsorn.org/old_book/kps/Khamnum.html,  http://www.kamphorsorn.org/kps3.html




  

ภาคผนวก ก

1.  โครงงาน   ภาพยนตร์สั้น เรื่องพระบรมราโชวาทแนวทางในการดำเนินชีวิต

2.  ชื่อผู้เสนอโครงงาน  นางสาวฉันท์สินี  บัวเพ็ชร
         นางสาวมุซิรา     อินตาฝา
                              นางสาววันดี      ช่างเหล็ก
                              นางสาวไลลา     หมาดสุวรรณ

3.  คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน    คุณครูเชษฐา   เถาวัลย์
                                       คุณครูโสภิตา  สังฆะโณ

4.  หลักการและเหตุผล
จากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสกับปวงชนชาวไทย นานัปการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับปวงชนชาวไทยในทุกๆด้าน ซึ่งหากเราใส่ใจและสนใจนำพระบรมราโชวาทนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันของพวกเราทั้งด้านความคิด ด้านการงาน ครอบครัว และการใช้ชีวิตแล้ว เชื่อแน่ว่าจะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นอย่างแน่นอน
พระบรมราโชวาทของพระองค์ที่มอบให้แก่พวกเราชาวไทยในหลากหลายเรื่องนั้น ล้วนแล้วแต่มีคติสอนใจ ที่อยากให้ทุกคนนำมาประพฤติปฏิบัติ  เพื่อความสุข ความสำเร็จ และความเจริญ เปรียบเสมือนเป็นคำสอนของพ่อที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ให้พระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นคนดีและการใช้ชีวิตในสังคม
พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสส่วนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประทานให้กับปวงชนชาวไทยทุกคนให้เรานำไปประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของครอบครัว เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติต่อไปก็ขอให้พวกเราน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ  เลิกทะเลาะเบาะแว้ง เลิกโกรธ เลิกเกลียด และทำร้ายกัน ยึดมั่นในความดี ในความถูกต้อง  เป็นคนดีของครอบครัวและสังคม มีศีลธรรมเพียงเท่านี้ ก็จะทำให้เราค้นพบความสุขในชีวิต
          จากข้อมูลข้างต้นผู้รายงานมีความคิดเห็นว่า พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีความสำคัญที่เด็กและเยาวชนทุกคนจะต้องนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการสะท้อนให้เด็กและเยาวชนได้เห็นภาพที่ชัดเจนและตระหนักถึงเหตุการณที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน จึงได้มีการจัดทำภาพยนตร์สั้นเพื่อเป็นสื่อการในการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นรูปแบบให้เด็กและเยาวชนดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและจะทำให้พบกับความสุขอย่างแท้จริง

5.  หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
          5.ความหมายของภาพยนตร์สั้น
          5.ความเป็นมาของภาพยนตร์สั้น
          5.ประเภทของภาพยนตร์สั้น
          5.ขั้นตอนในการทำภาพยนตร์สั้น
          5.ประโยชน์ในการทำภาพยนตร์สั้น
          5.โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ (Ulead Video Studio V.11)
          5.ประวัติของบล็อก ( Blogger )
          5.ประวัติของ ( Page )
          5.โปรแกรม Adobe  Photoshop
          5.10  โปรแกรม  Photoscape
          5.11  ปฏิทินออนไลน์ ( Google  Calendar )  

6.  วัตถุประสงค์
          6.1 เพื่อที่จะนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นซึ่งเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับ
                พระบรมราโชวาทใน  การดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
          6.2 เพื่อนำพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
          6.3 เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนนำพระบรมราโชวาทไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีสติ

7.  ขอบเขตของโครงงาน
       7.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว
       7.2  เวลาของการดำเนินงาน คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
       7.แหล่งค้นคว้าข้อมูล  คือ หนังสือพิมพ์และอินเทอร์เน็ต

8.  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
       8.เว็บบล็อกใช้ในการอัพเดทข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงงาน
       8.2  Page ใน Facebook  ใช้ในการร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับคำพ่อสอน
       8.โปรแกรม Adobe  Photoshop  ใช้ในการตกแต่งภาพถ่าย
       8.โปรแกรม Photoscape  ใช้ในการตกแต่งภาพถ่าย
       8.5  Google  Drive  ใช้ในการทำแบบสอบถาม  กิจกรรม  และอัปโหลดข้อมูลไปยังเว็บบล็อก
       8.6 โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ (Ulead Video Studio V.11)

 9.  ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ –๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
วันดี ช่างเหล็ก
เสนอโครงร่างโครงงาน
  1.หลักการและเหตุผล
  2.วัตถุประสงค์
  3.สมมติฐาน
  4.ขอบเขตของโครงงาน
  5.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงาน



๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ –๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕



ฉันท์สินี  บัวเพ็ชร
รวบรวมข้อมูล
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ - ๙ ธันวาคม ๒๕๕๕
มุซิรา  อินตาฝา
วิเคราะห์ข้อมูล
๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ -   ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
ไลลา  หมาดสุวรรณ
ออกแบบการถ่ายทำวิดีโอ
  1. ฉาก
  2.สถานที่

๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ –     ๖ มกราคม ๒๕๕๖

ฉันท์สินี  บัวเพ็ชร
ถ่ายทำวิดีโอ
๗ มกราคม ๒๕๕๖ -     ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
มุซิรา  อินตาฝา
ตัดต่อและแก้ไขวิดีโอ
๑๔ มกราคม ๒๕๕๖ -   ๒๐ มกราคม ๒๕๕๖
วันดี  ช่างเหล็ก
นำเสนอโครงงาน
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
ฉันท์สินี  บัวเพ็ชร
      ประเมินผลโครงงาน
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
คุณครู





10.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
       10.1 ทำให้รู้ถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       10.2 ทำให้การนำพระบรมราโชวาทไปใช้ในการดำเนินชีวิต
       10.3ทำให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสติและระมัดระวังถึงภัยอันตราย






ภาคผนวก ข

 คำพ่อสอน


 
ฉันท์สินี บัวเพ็ชร รับบท หนูดี
  

                                   ศิริศักดิ์ หวานดี รับบท ลุงสมหมาย



                                      วันดี ช่างเหล็ก รับบท หนูยิ้ม


ไลลา หมาดสุวรรณ รับบท คุณครูอารี

มุซิรา อินตาฝา รับบท คุณครูขวัญใจ


                                           รำลึกถึงพระคุณครู




                                       รักของพ่อยิ่งใหญ่เสมอ


                                       คุณครูอารีกับลุงสมหมาย

                                         เบื้องหลังการถ่ายทำ





                                   เว็บบล็อกพระบรมราโชวาท




                                                                      เพจเฟสบุ๊ค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น